วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สังคม,ฝูงชน ,วัฒนธรรม,ลักษณะของวัฒนธรรม,ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรม, โครงสร้างทางสังคม ,กลุ่มทางสังคมที่เป็นระเบียบ - สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย

สังคม คือ กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันมีลักษณะดังต่อไปนี้

- ประกอบด้วยกลุ่มคน
- มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
- มีอาณาเขตที่แน่นอน
- มีระเบียบกฎเกณฑ์+ลักษณะการดำเนินชีวิตแบบเดียวกัน
- จุดมุ่งหมายในทางเดียวกัน

ฝูงชน คือ กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง

วัฒนธรรม คือ วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคม คนส่วนใหญ่ปฏิบัติกัน

ลักษณะของวัฒนธรรม
1.มนุษย์สร้างขึ้น
2.ได้จากการเรียนรู้
3.เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต
4.เป็นมรกดทางสังคม
5.เปลี่ยนแปลงได้
6.มีทั้งทางวัตถุ+ทางใจ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรม
1.สิ่งแวดล้อม
2.ลัทธิ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี
3.ความเจริญก้าวหน้าทางวิทย์+เทคโนโลยี

วัฒนธรรมประกอบด้วย
1.คติธรรม ความเชื่อ ค่านิยม
2.เนติธรรม กฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ
3.วัตถุธรรม สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ
4.สหธรรม มารยาทที่พึงปฏิบัติ

โครงสร้างทางสังคม คือ การกำหนดความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มารวมตัวกันในสังคม ปฏิบัติต่อกันตามหน้าที่และระเบียบแบบแผน

องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม
1.การจัดระเบียบสังคม
2.สถาบันสังคม

กลุ่มทางสังคมที่เป็นระเบียบได้แก่
1.ครอบครัว
2.เพื่อน
3.ชุมชน

ความสัมพันธ์ของกลุ่มสังคม มี 2 ประเภทคือ
1.ปฐมภูมิ ใกล้ชิด สนิทสนม เป็นกันเอง
2.ทุติยภูมิ เป็นไปตามระเบียบ ระบบ เป็นทางการ

กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม

1.บรรทัดฐาน คือระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดไว้เพื่อให้สมาชิกยึดถือปฏิบัติ มี 3 ประเภท
- วิถีประชา แนวปฏิบัติต่างๆที่เป็นความเคยชิน
- จารีตหรือกฎศีลธรรม คือ แนวทางการประพฤติที่เกี่ยวกับระบบศีลธรรม
- กฎหมาย คือ ระเบียบข้อบังคับ จะฝ่าฝืนไม่ได้

2.สถานภาพและบทบาท
สถานภาพ คือตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม เป็นสิทธิและหน้าที่

ประเภทสถานภาพ
1.สถานภาพที่ติดตัวมา เช่นหญิง ชาย เด็ก ผู้ใหญ่
2.สถานภาพที่ได้มาด้วยความสามารถ เช่น ทหาร ตำรวจ ส.ส.

บทบาท คือการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของสถานภาพ เป็นตัวกำหนดความรับผิดชอบ

3.การขัดเกลาทางสังคม คือการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้รู้แบบแผนโดยมีตัวแทนในการขัดเกลาดังนี้
1.ครอบครัว
2.เพื่อน
3.รร.
4.กลุ่มอาชีพ
5.สื่อมวลชน

สถาบันทางสังคม คือกระบวนการรวมกลุ่มที่จัดขึ้นอย่างเป็นระเบียบ มีระบบ มั่นคง ประกอบด้วย

1.สถานที่
2.บุคคล
3.ระเบียบข้อบังคับ

สถาบันทางสังคมที่สำคัญมี 7 สถาบัน
1.ครอบครัว ประเภทของครอบครัว ครอบเดียว ครอบครัวขยาย ครอบครัวซับซ้อน
หน้าที่พื้นฐาน
1.สร้างสรรค์สมาชิกใหม่
2.เลี้ยงดูสมาชิกใหม่
3.อบรมสั่งสอนเด็ก
4.กำหนดสถานภาพ
5.ให้ความรักความมั่นคงทางใจแก่สมาชิก

2.ศาสนา กำหนดแนวทางความฟระพฤติฟฏิบัติ เป็นที่พึ่งทางใจ หน้าที่
1.ควบคุมสังคมให้สงบสุข
2.สร้างความสามัคคี
3.เป็นที่พึ่งทางใจ
4.ให้การศึกษาแก่สมาชิกให้อยู่ในศีลธรรม

3.สถานศึกษา เป็นกิจกรรมพื้นฐานของคนในสังคม หน้าที่พื้นฐาน
1.ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ
2.ถ่ายทอดวัฒนธรรม
3.ให้ความรู้วิทยาการใหม่ๆ
4.สร้างความรู้สึก ทัศนคติที่ดี
5.เตรียมบุคคลให้เผชิญปัญหาด้วยสติปัญญา

4.เศร. เป็นสถาบันที่กล่าวถึงการอยู่รอดของมนุษย์ในด้านต่างๆ หน้าที่พื้นฐาน
1.ช่วยให้ประชาชนกินอยู่ที่ดี
2.สร้างรายได้
3.สร้างงาน

5.การเมืองการปกครอง หน้าที่พื้นฐาน
1.ขจัดความขัดแย้งในสังคม
2.รักษาความสงบภายใน
3.กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติ
4.ความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
5.มีความสัมพันธ์กับต่างปท.
6.หารายได้พัฒนาปท.

6.นันทนาการ คือการพักผ่อนหย่อนใจ หน้าที่พื้นฐานคือ
1.ช่วยให้สมาชิกร่างกายแข็งแรง
2.ช่วยให้มีสุขภาพจิตดี
3.ช่วยให้มีความสามัคคี
4.ปลูกฝังความมีระเบียบ

7.สื่อมวลชน การสื่อข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ
1.ถ่ายทอดข่าวสาร
2.ให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนความเห็น
3.ให้ความบันเทิง
4.เป็นผู้นำมวลชนในการแสดงค.ห.
5.แหล่งถ่ายทอดวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น