วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พลังงานในสิ่งมีชีวิต - ชีววิทยา Biology

พลังงานในสิ่งมีชีวิต
       มีชีวิตที่ใช้พลังงานแสงเพื่อการดำรงชีวิต เรียกว่า โฟโตโทรฟ(Phototroph) หรือ Phototrophic organism ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

สิ่งมีชีวิตที่ใช้พลังงานจากการรับสารเคมี(สารอินทรีย์)ต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเรียกว่า เคโมโทรฟ (Chemotroph หรือ Chemotrophic organism) ได้แก่ สัตว์ต่าง ๆ เห็ดรา และ แบคทีเรียทั่ว ๆ ไป

         พลังงานกระตุ้น (Activation energy) หมายถึง ปริมาณ พลังงานจลน์ที่น้อยที่สุดที่ให้กับอนุภาคของสาร เพื่อให้ อนุภาคของสารมีแรงชนกันเพียงพอ ที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยา เคมีขึ้น

         พลังงานกระตุ้น (Activation energy) ทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลง 4 ประการ คือ
1. ทำให้อนุภาคของสารเคลื่อนที่เร็วขึ้นกว่าปกติ
2. เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น โอกาสที่จะชนกันย่อมมีมากขึ้น
3. อนุภาคเคลื่อนที่เร็วขึ้น โอกาสที่จะชนกันมากขึ้นตำแหน่งที่ไวต่อปฏิกิริยาย่อมมีโอกาสถูกชนมากขึ้นตามไป ด้วย
4. เมื่อชนกันแรงมากขึ้นโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง เคมีย่อมมากขึ้นด้วย พลังงานส่วนใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตใช้ได้มาจากการสลายสาร อาหารด้วยกระบวนการทางเคมี พลังงานที่ได้จึงเป็น พลังงานเคมี

         ปฏิกิริยาเคมี 2 ประเภท คือ

1. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป

2. ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมาน้อยกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น