วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สารอาหารกับ การดำรงชีวิต - ชีววิทยา Biology

สารอาหารกับ การดำรงชีวิต
         สารอาหาร (Nutrient) คือ สารเคมีที่มีอยู่ในอาหารซึ่งร่างกายต้องการ

เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ประกอบด้วย โปรตีน คาร์ โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ พวกที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

1.คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) เช่น กลูโคส ฟรุก โตส และกาแลกโตส พบในน้ำนม มีสูตร C6H12O6 เหมือนกัน

1.2 น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) สูตรทั่วไป คือ C12H22O11 เช่น

ซูโครส (Sucrose) เกิดจาก กลูโคส + ฟรุกโตส

มอลโตส (maltose) เกิดจาก กลูโคส + กลูโคส

แลกโตส (Lactose) เกิดจาก กลูโคส + กาแลกโตส

มอลโตส (Maltose) พบในข้าวชนิดต่าง ๆ (ข้าวมอลต์ ข้าวเจ้า
ข้าวเหนียว)

ซูโคส (Sucrose) หรือน้ำตาลทราย (น้ำตาลอ้อย)
- เป็นสารที่ให้ความหวานสำคัญที่สุดในโลก
- ถ้านำไปเผาที่ 2100C จะได้ คาราเมล

1.3 คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) หมายถึง
           คาร์โบไฮเดรตที่มีมากที่สุด ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหลาย ๆ หน่วยมาต่อเข้าด้วยกัน ทำหน้าที่เป็นสารโครงสร้าง และคลัง อาหารสูตรทั่วไปของ Polysaccharide = (C6H10O5)n เช่น แป้งใน พืช แป้งในสัตว์ เซลลูโลส และไคติน

2.โปรตีน (Protein) ประกอบด้วยธาตุ C , H , O , N , S , P มี ประมาณ 1/7 ของน้ำหนักตัว หน่วยย่อย ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ของโปรตีน เรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid)
-ปลาทู ถั่วเหลือง หมู เนื้อ ไข่ไก่ และข้าวโพด มีกรดอะมิโนจำ เป็นจำนวนมาก
-นมวัว มีปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นสูงกว่านมถั่วเหลือง

         ผลจากการได้รับสารอาหารโปรตีนน้อยเกินไป จะทำให้ดุลของไนโตรเจนลดต่ำลง คือเสียปริมาณไนโตรเจน ออกจากร่างกายมากกว่าที่ร่างกายได้รับ มีผลต่อร่างกายคือ
-เลือดมีปริมาณโปรตีนต่ำกว่าปกติ เกิดการบวมตามตัว ตามมือ และเท้า
-การเจริญเติบโตหยุดชะงัก
-ติดเชื้อง่าย และความต้านทานโรคต่ำ
-อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย ปวดมึนศีรษะ
-น้ำหนักตัวลด

3.ไขมัน (Lipid) เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C , H , O

     เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
-โมโนกลีเซอไรด์
-ไดกลีเซอไรด์
-ไตรกลีเซอไรด์

4.แร่ธาตุ (Mineral salts) คือ สารซึ่งเป็นส่วนประกอบของร่างกาย

มนุษย์ได้แก่ O > C > H > N ส่วนแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ เช่น

1. ธาตุแคลเซียม - ขณะตั้งครรภ์ และขณะให้นมบุตร ซึ่งจะมีมาก ในงาดำ , นม , ไข่ , กุ้งแห้ง , ปลาไส้ตัน , คะน้า , ตำลึง ร่างกาย ต้องการมาก
หน้าที่หลักของธาตุแคลเซียม
- ส่วนประกอบของกระดูกและฟัน
- ช่วยในการแข็งตัวเลือดและการหดตัวกล้ามเนื้อ
ผลการขาด ทำให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การแข็งตัวเลือด ผิดปกติ กล้ามเนื้อเกร็ง ชักกระตุก

2. ธาตุเหล็ก - ร่างกายจะต้องการมากในขณะที่ต้องเสียเลือด หรือผ่า ตัด แหล่งอาหารที่พบได้มาก เช่น งาดำ , ผักสีเขียว , ตับ , เนื้อสัตว์ , ไข่แดง , ถั่ว
หน้าที่หลักของธาตุเหล็ก
- ส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน
- ส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิด
ผลการขาด ทำให้เป็นโรคโลหิตจาง (Anemia)

3. ธาตุไอโอดีน
หน้าที่หลักของธาตุไอโอดีน
- เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน แหล่งอาหาร ได้แก่ อาหารทะเล , เกลือสมุทร , เกลืออนามัย

 
5.วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณ น้อย แต่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อให้ร่างกายทำงานตามปกติ

ประเภทของวิตามิน
1.วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบีต่าง ๆ วิตามิน C วิตามิน F
2.วิตามินที่ละลายในน้ำมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค

6.น้ำ (Water) เป็นสารที่มีมากที่สุดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบ ของโปรตีน โปรโตพลาสซึม ช่วยลำเลียงสารอาหาร และช่วยควบ คุมอุณหภูมิ
- ถ้าร่างกายขาดน้ำในเวล 3 – 4 วัน ก็จะเสียชีวิต
- ถ้าร่างกายสูญเสียน้ำถึง 10% จะมีอาการรุนแรง และถ้าสูญเสียน้ำ มากกว่า 20% อาจเสียชีวิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น