วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การลำเลียงสารอาหารในร่างกาย - ชีววิทยา Biology

การลำเลียงสารอาหารในร่างกาย
       การลำเลียงสาร หมายถึง การนำเอาสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจนรวมทั้งสารที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะบางอย่างสร้างขึ้น เช่น ฮอร์โมน ไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำของเสียจากเซลล์ไปสู้โครงสร้างที่ทำหน้าที่ขับถ่ายนำไปสู่ภายนอกร่างกาย


การลำเลียงในสัตว์ชั้นต่ำ
- ไฮดรา หลานาเรีย อาศัยการแพร่ของสารอาหารผ่านไปยังเซลล์ถัดไป
- สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะเริ่มมีระบบหมุนเวียนเลือดซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( OPEN CIRCULATORY SYSTEM ) ระบบนี้บางช่วงเลือดจะไหลไปตามช่องว่างของลำตัว และช่องว่างระหว่างอวัยวะพบในมอลลัสจำพวกหอยและ อาร์โทรปอด
2. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( CLOSE CIRCULATORY SYSTEM ) ระบบนี้เลือดจะไหลอยู่ภายในหลอดเลือด จากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆ แล้วกลับเข้าสู่หัวใจ ระบบนี้จะมีเส้นเลือดฝอยอยู่ด้วย พบในพวก แนนีลิด คอร์ดาตามอลลัสพวกหมึก

ตัวอย่างข้อสอบ
       สัตว์ชนิดใดมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด
ก. ไส้เดือนดิน
ข. แม่เพรียง
ค. กุ้งกุลาดำ
ง. ปลาหมึกกล้วย
ตอบ ค.

สัตว์มีกระดูดสันหลัง
       มีระบบเลือดแบบปิดและมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือด
- ปลามีหัวใจ 2 ห้อง คือห้องบน ( ATRIUM ) และห้องล่าง ( VENTRICLE )
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้อง
- สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง แต่มีแผ่นกล้ามเนื้อกั้นกลางบางส่วน
- จระเข้มีแผ่นกั้นตลอดแต่มีรูตรงกลางแผ่นกั้น จึงถือว่าจระเข้เป็นสัตว์ที่เริ่มมีหัวใจ 4 ห้อง
- สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหัวใจ 4 ห้อง

ตัวอย่างข้อสอบ
      เราจะพบลักษณะที่เหมือนกันของหัวใจสัตว์ 2 ชนิด คือ กบและหมูในข้อใด
ก. มีเวนตริเคิลสองห้อง
ข. เลือดที่มีออกซิเจนสูงไหลเข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมซ้าย
ค. เลือดที่มีออกซิเจนสูงไหลเข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมขวา
ง. เลือกที่เข้าหัวใจห้องเอเตรียมซ้ายนี้มาจากจากปอดเท่านั้น
ตอบ ข.

ระบบลำเลียงของคน
       ระบบหมุนเวียนเลือด
มีโครงสร้างที่เกี่ยวข้อดังนี้
1. หัวใจ ( HEART )
หัวใจของคนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม มี 4 ห้อง คือ ห้องบน ( AURICELE หรือ ATRIUM ) 2 ห้อง และห้องล่าง ( VENTRICLE )

ข้อควรจำ
      หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ตัวอย่างข้อสอบ
       หัวใจคนห้องใดมีแรงบีบมากที่สุด
ก. ห้องบนขวา
ข. ห้องบนซ้าย
ค. ห้องล่างขวา
ง. ห้องล่างซ้าย
ตอบ ง.

2. เส้นเลือด ( BLOOD VESSEL )
      เส้นเลือดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ( ARTERY ) นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ ( VEIN ) นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าสู่หัวใจ โดยมีลิ้นกั้นอยู่ภายในทำให้ไหลไปใน ทิศทางเดียว
3. เส้นเลือดฝอย ( CAPILLARY ) เป็นเส้นเลือดขนาดเล็กแทรกไปตามเนื้อเยื่อต่างๆของ
ร่างกาย มีผนังบางมากจึงสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซและสารต่างๆระหว่างเลือดกับเซลล์ของร่างกายได้ดี

ข้อควรจำ
1. เส้นเลือด PULMONARY ARTERY นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าไปฟอกที่ปอด
2. เส้นเลือด PULMONARY VEIN นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงที่ฟอกแล้วจากปอดกลับเข้าสู่หัวใจ

ตัวอย่างข้อสอบ
       เส้นเลือดใดมีออกซิเจนในปริมารมาก
ก. PULMONARY ARTERY
ข. PULMONARY ARTERY
ค. RENAL VEIN
ง. HEPATIC VEIN
ตอบ ข.

      ความดันเลือด คือ แรงดันที่ทำให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือด แรงดันนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการบีบตัวของหัวใจ แรงดันนี้มี 2 ค่า คือ
1. ความดันซิสโตลิก ( SYSTOLIC PRESSURE ) คือ ความดันเลือดสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว
2. ความดันไดแอสโตลิก ( DIASTOLIC PRESSURE ) คือ ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

ข้อควรจำ
1. การวัดความดันจะวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่อยุ๋ใกล้หัวใจ โดยทั่วไปนิยมวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่ต้นแขน โดยใช้เครื่องมือสฟิกโมนาโมมิเตอร์ ( SPHYGMONANOMETER )
2. ในผู้ใหญ่ปกติจะมีค่าความดันเลือด 120/80 มิลลิเมตรปรอท

ตัวอย่างข้อสอบ
        ความดันเลือดสูงสุด พบได้ในบริเวณใด
ก. เออร์ตา
ข. อาร์เตอรี
ค. เวน
ง. เวนาคาวา
ตอบ ก.

3. เลือด ( BLOOD )
เลือดประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. เม็ดเลือด ( CORPUSCLE ) ได้แก่
- เม็ดเลือดแดง ( ERYTHROCYTE ) มีโปรตีน HAEMOGLOBIN อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน
- เม็ดเลือดขาว ( LEUCOCYTE )
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. PHAGOCYTE เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำลายเชื้อโรคโดยวิธี PHAGOCYTOSIS ( จับกิน )
2. LYMPHOCYTE เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สร้าง ANTIBODY ขึ้นมา ต้านสิ่งแปลกปลอม
- เกล็ดเลือด ( THROMBOCYTE ) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด

ข้อควรจำ
       การแข็งตัวของเลือด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ เกล็ดเลือด โปรตีน FIBRINOGEN วิตามิน K และแคลเซียม

ตัวอย่างข้อสอบ
      ปัจจัยในข้อใดไม่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด
ก. แคลเซียม
ข. วิตามิน K
ค. เพลตเลต
ง. โกลบูลิน
ตอบ ง.

2. น้ำเลือด ( PLASMA ) ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน สารอนินทรีย์ ก๊าซ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์และไนโตรเจน ของเสีย เช่นยูเรีย กรดยูริก และกรดแลคติก ฮอร์โมน และแอนติบอดี

ระบบน้ำเหลือง ( LYMPHATIC SYSTEM ) ประกอบด้วย

1. น้ำเหลือง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย อัลบูมิน กลูโคส น้ำ เอนไซม์ ฮอร์โมน เซลล์เม็ดเลือดขาว และก๊าซต่างๆ
2. ท่อน้ำเหลืองเป็นท่อปลายปิดมีลิ้นอยู่ภายใน เพื่อให้ไหลเข้าสู่หัวใจทิศทางเดียวกันตลอด แล้วจึงเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดดำใกล้หัวใจ ( SUBCLAVIAN VEIN )

3. ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะน้ำเหลือง
- ต่อมน้ำเหลือง ( LYMPH GLAND ) มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองมีหน้าที่ ในการกรองน้ำเหลืองทำลายแบคทีเรีย ทำลายเม็ดเลือดขาวที่หมดอายุ และสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิด

- อวัยวะน้ำเหลือง ( LYMPHATIC ORGAN ) คล้ายกับต่อมน้ำเหลืองแต่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ม้าม ( SPLEEN ) เยื่อไขกระดูด ( BONE MARROW) ทอนซิน ( TONSIL ) และต่อมไทมัส ( THYMUS GLAND )

ข้อควรจำ
       การไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น

ตัวอย่างข้อสอบ
    อวัยวะชนิดใดที่ไม่ได้จัดว่าเป็นอวัยวะน้ำเหลือง
ก. ต่อมไทมัส
ข. ม้าม
ค. ต่อมทอนซิน
ง. ตับ
ตอบ ง.

ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
1. ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( INNATE IMMUNITY ) เป็นการป้องกัน และกำจัดแอนติเจนที่มีมาก่อนหน้าที่แอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย เช่น การขับ เหงื่อของผิวหนัง ขนจมูกช่วยกรองแอนติเจนต่างๆ LYSOZYME ในน้ำลาย น้ำตาล น้ำมูก ตลอดจนปฏิกิริยารีเฟลกซ์ต่างๆ เช่น การไอ การจาม
2. ภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( ACQUIRED IMMUNITY ) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนนั้นๆ ได้แก่
- ภูมิคุ้มกันก่อเอง ( ACTIVE IMMUNIZATION ) เป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน
โดยการนำสารที่เป็นแอนติเจนที่ทำให้อ่อนกำลัง ไม่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ มาฉีด กิน หรือทา เพื่อกระคุ้นให้ร่างกายแอนติบอดีขึ้นมาต่อด้านแอนติเจนชนิดนั้น

วัคซีน ( VACCINE ) ทำมาจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนกำลัง เช่น ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค วัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม

ทอกซอยด์ ( TOXOID ) ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก

ตัวอย่างข้อสอบ
       เหงื่อ น้ำลาย น้ำตา ล้วนมีเอนไซม์ ไลโซโซม์ ซึ่งมีหน้าที่ทำลาย
ก. เซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
ข. โพรโทซัว
ค. แบคทีเรีย
ง. ไวรัส
ตอบ ค.

      คนที่เป็นโรคใดต่อไปนี้ควรให้แอนติบอดีแก่ร่างกายทันที
ก. อหิวาตกโรค
ข. วัณโรค
ค. ไอกรน
ง. บาดทะยัก
ตอบ ง.

ภูมิคุ้มกันรับมา ( PASSIVE IMMUNIZATION )
- ซีรัมหรือ เซรุ่ม ( SERUM ) คือ ส่วนน้ำใสของน้ำเลือดของกระต่ายหรือม้าที่ได้รับการกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี มาฉีดให้ผู้ป่วย เช่น คอตีบ พิษงู เป็นต้น
- น้ำนมที่ทารกๆ ได้รับจากการดูดน้ำนมแม่ และภูมิคุ้มกันที่ทารกในครรภ์ได้รับโดยผ่านทางรก
     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน
1. พันธุกรรม
2. โภชนาการ เช่น ถ้าขาดวิตามิน A และ C จะลดการทำงานของ ฟาโกไซต์และ T-CELL
3. ยาบางชนิด เช่น ยาพวก คอร์ติโคสเตอรอยต์ จะห้ามการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่าง ไม่เฉพาะเจาะจง

ตัวอย่างข้อสอบ
      การให้ทารกดื่มนมมารดา ทารกได้รับภูมิคุ้มกันชนิด
ก. ภูมิคุ้มกันก่อเอง
ข. ภูมิคุ้มกันรับมา
ค. ภูมิคุ้มกันก่อเองและรับมา
ง. ไม่ได้รับภูมิคุ้มกันได้รับแต่สารอาหาร
ตอบ ข.

ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
1. โรคภูมิแพ้ ( ALLERGY )เป็นอาการที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อแอนติเจนบางอย่าง เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ อาหารทะเลขนสัตว์และอาการเป็นต้น

2. โรคที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อของตนเอง ( AUTOIMMUNE DISEASES ) เช่น
- โรคลูปุส หรือเอสแอลอี ( SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS-SLE) เป็นอาการที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเซลล์ของตนเอง

3. โรคเอดส์ ( ACQUIRE IMMUNE DEFICIENCY ) เกิดจากเชื้อไวรัส HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell

ตัวอย่างข้อสอบ
    ผู้ป่วยโรคเอดส์ ควรจะมีเม็ดเลือดขาวชนิดใดน้อยกว่าปกติ

ก. BASOPHIL
ข. EOSINOPHIL
ค. NEUTROPHIL
ง. LYMPHOCYTE
ตอบ ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น