วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สังคม,ฝูงชน ,วัฒนธรรม,ลักษณะของวัฒนธรรม,ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรม, โครงสร้างทางสังคม ,กลุ่มทางสังคมที่เป็นระเบียบ - สรุปเนื้อหาสังคม ม.ปลาย (3)

กฎหมาย คือข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนดขึ้น หากไม่ปฏิบัติตามย่อมมีความผิดและถูกลงโทษ


ที่มาของกฎหมาย มาจากจารีตประเพณี กับ มาจากตัวบทกฎหมาย เป็นลายลักษณ์อักษร ตราขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐนั้น

ระบบกฎหมาย มี 2 ระบบ
1.ระบบจารีตประเพณี คือ กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อาศัยจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาศาล
โดยใช้เหตุผลของนักกฎหมายเป็นหลัก เช่น ปท.อังกฤษ และปท.ในเครือจักรภพ

2.ระบบลายลักษณ์อักษร มีประวัติมาจากกฎหมายโรมัน นิยมใช้ในปท.ต่างๆ


ลักษณะของกฎหมาย

1.เป็นกฎ หรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปในรัฐหรือปท.นั้น

2.ต้องใช้บังคับตลอดไปจนกว่ามีกฎหมายอื่นมายกเลิก

3.ต้องตราขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ

4.ต้องมีสภาพบังคับ

5.ต้องไม่มีการบังคับย้อนหลัง

ความสำคัญของกฎหมาย
1.ให้สังคมเป็นระเบียบ
2.ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม
3.เกิดความสงบเรียบร้อย

ประเภทของกฎหมาย แบ่งได้ 3 ประเภท

1.กฎหมายเอกชน บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในฐานะเท่าเทียบกัน เช่น ประมวลกฎหมายที่ดิน

2.กฎหมายมหาชน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ กับเอกชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญาฯลฯ

3.กฎหมายระหว่างปท. ถือว่ารัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล แบ่งเป็น 3 แผนก คือ
แผนกคดีเมือง คดีบุคคล คดีอาญา

พระราชบัญญัติคือ กฎหมายที่กษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยิมยอมของรัฐสภา
กระบวนการจัดทำพระราชบัญญัติ

1.ผู้เสนอ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี หรือส.ส.(อย่างน้อย20คน) ประชาชน 50,000 คน

2.ผู้พิจารณาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร แบ่งเป็น 3 วาระคือ

วาระที่1 เรียกขั้นรับหลักการ วาระที่ 2 เรียก ขั้นแปรญัตติ วาระที่ 3 เรียก ขั้นลงมติ

3.วุฒิสภา พิจารณา 3 วาระเช่นเดียวกัน

ผู้ตราได้แก่พระมหากษัตริย์ มีผลบังคับใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว


ประมวลกฎหมาย มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติ ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ต่างจากพระราชบัญญัติที่
ประมวลกฎหมายเป็นการรวบรวมบัญญัติของกฎหมายในเรื่องใหญ่ๆมารวมไว้ที่เดียวกัน

พระราชกำหนด คือกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
การออกพระราชกำหนดถือว่าเป็นกฎหมายชั่วคราว ออกในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน
อันถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉินในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะสุขหรือป้องปัดภัยพิบัติ

กระบวนการจัดทำ

1.ผู้เสนอ คือ รัฐมนตรีที่จะรักษาการตามพระราชกำหนด

2.ผู้พิจารณาคือ คณะรัฐมนตรี

3.ผู้ตรา คือ กษัตริย์

4.มีผลบังคับใช้เมื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว



พระราชกฤษฎีกา คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มี 2 ประเภท

1.ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย

2.กษัตริย์ใช้อำนาจโดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านของข้าราชการ



กระบวนการจัดทำ

1.ผู้เสนอ คือคณะรัฐมนตรีจะรักษาการตามพ.ร.บ. พ.ร.ก.ที่แกโดยพระราชกฤษฎีกา

2.ผู้พิจารณา คือ คณะรัฐมนตรี

3.ผู้ตรา คือ กษัตริย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น