วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม - เคมี Chemistry

ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม

      อุตสาหกรรมแร่

แร่ คือ ธาตุหรือสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยกระบวนการทางธรณีวิทยาภายในโลกและที่ผิวโลก มีองค์ประกอบเป็นช่วง มีโครงสร้างและองค์ประกอบเฉพาะตัว ส่วนสินแร่ คือ กลุ่มของแร่ต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากพอในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการหลอมเหลวหรือถลุง เพื่อให้ได้โลหะ แร่หลักชนิดต่าง ๆ จำแนกตามองค์ประกอบทางเคมี

       นอกจากนี้อาจจำแนกแร่ตามโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ดังนี้

แร่ประกอบหิน หมายถึง แร่ที่เป็นส่วนประกอบของหิน เช่น หินแกรนิตประกอบด้วยแร่ควอตซ์ แร่เฟลด์สปาร์และแร่ไมกา หินปูนประกอบด้วยแร่แคลไซต์ซึ่งจะกระจายแทรกตัวอยู่ในเนื้อหินและแยกออกมาใช้ประโยชน์ได้ยาก จึงต้องนำหินเหล่านั้นมาใช้โดยตรง เช่น นำมาใช้ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง นำหินแกรนิตหรือหินอ่อนในรูปของแผ่นหินมาใช้สำหรับปูพื้นหรือการก่อสร้าง

แร่เศรษฐกิจ หมายถึง แร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม โดยอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ตามตาราง หรืออาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
     แร่โลหะและแร่อโลหะ ตัวอย่างแร่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย เช่น หินปูน ยิปซัม สังกะสี เหล็ก ดีบุก ตะกั่ว หินอ่อน ทรายแก้ว เฟลด์มปาร์ ดินขาว ฟลูออไรต์ โพแทซและรัตนชาติ รวมทั้งแร่อโลหะที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน หินน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ โดยประเทศไทยผลิตแร่ได้มากกว่า 40 ชนิด ทั้งการผลิตเพื่อส่งออกและเพื่อรองรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ


    ทองแดง
แร่ทองแดงพบที่ จ.เลย หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา ตาก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เพชรบูรณ์ ลพบุรี ฉะเชิงเทรา และกาญจนบุรี แต่ยังไม่มีการผลิต แร่ทองแดงส่วนใหญ่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบปริมาณไม่มาก แร่ทองแดงที่สำคัญคือ แร่คาลโคโพไรต์ ( CuFeS2 )
       ทองแดงเป็นโลหะที่มีความสำคัญและใช้มากในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์เกี่ยวกับรถยนต์ อาวุธ เปรียญกษาปณ์ ฯลฯ และยังเป็นส่วนปรกอบสำคัญในโลหะผสมหลายชนิด เช่น ทองเหลือง บรอนซ์ โลหะผสมทองแดงนิกเกิลใช้ทำท่อในระบบกลั่น อุปกรณ์ภายในเรือเดินทะเล โลหะผสมทองแดง นิกเกิล และสังกะสี ( เรียกว่าเงินนิกเกิลหรือเงินเยอรมัน ) ใช้ทำเครื่องใช้ เช่น ส้อม มีด เครื่องมือแพทย์ นอกจากนี้ แร่ทองแดงที่มีลวดลายสวยงาม เช่น มาลาไคต์ อะซูไรต์ และคริโซคอลลา สามารถนำมาทำเครื่องประดับได้อีกด้วย


         สังกะสีและแคดเมียม
แร่สังกะสีที่พบมากที่สุดคือ แร่สฟาเลอไรด์( ZnS ) เมื่อนำมาถลุงแล้วจะอยู่ในรูปของของเหลวไม่บริสุทธิ์ ในประเทศไทยพบแร่สังกะสีในหลายจังหวัด เช่น ลำปาง แพร่ แต่สำหรับที่ตากเป็นแร่สังกะสีชนิดซิลิเกต คาร์บอเนตและออกไซด์ ซึ่งจะมีลำดับวิธีการถลุงแร่แตกต่างกันออกไป
       ปัจจุบันมีการใช้โลหะสังกะสีอย่างกว้างขวาง โดยใช้เป็นสารเคลือบเหล็กกล้า ใช้ผสมกับทองแดงเกิดเป็นทองเหลืองเพื่อใช้ขึ้นรูปหรือหล่อมผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้สารประกอบออกไซด์ของสังกะสียังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาง สี เซรามิกส์ ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์

       โลหะแคดเมียมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์นิกเกิล-แคดเมียม ทำสีในอุตสาหกรรมพลาสติก เซรามิกส์ ทำโลหะผสม และใช้โลหะแคดเมียมเคลือบเหล็กกล้า ทองแดง และโลหะอื่นๆเพื่อป้องกันการผุกร่อน
      
        ดีบุก
แร่ดีบุกที่พบส่วนใหญ่ พบในรูปของ แร่แคสซิเทอร์ไรต์ (SnO2)
คุณสมบัติของดีบุก
- ทนต่อการกัดกร่อน
- ไม่เป็นสนิม
- ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย

- ผสมเป็นเนื้อเดียวกับโลหะอื่นได้ดี
ประโยชน์ของดีบุก
- ใช้เคลือบโลหะ ทำภาชนะบรรจุอาหาร
- ทำโลหะผสม เช่น
- ดีบุก ผสม ทองแดง เป็น ทองสัมฤทธิ์/ทองบรอนซ์
- ดีบุก ผสม ทองแดงและพลวง เป็น โลหะพิวเตอร์
- ดีบุก ผสม ตะกั่ว เป็น ตะกั่วบัดกรี

        ทังสเตน
ทังสเตนส่วนใหญ่พบร่วมกับแร่ดีบุก สินแร่ของโลหะทังสเตนที่พบในประเทศมี 2 ชนิด คือ วุลแฟรไมต์ (Fe,Mn)WO4 และซีไลต์ CaWO4
       ทังสเตนเป็นโลหะสีเทาเงิน มีจุดหลอมเหลวและความหนาแน่นสูง เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวต่ำ เมื่อผสมกับคาร์บอนจะมีความแข็งมาก โลหะทังสเตนใช้ทำไส้และขั้วหลอดไฟฟ้า ชิ้นส่วนบริเวณผิวสัมผัสของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทำฉากป้องกันความร้อนและรังสีในอุปกรณ์ต่างๆ ผสมกับเหล็กจะได้เหล็กกล้าที่มีความแข็งมาก สำหรับใช้ทำเกราะในยานพาหนะ อาวุธสงคราม ทำมีด มีดโกน ตะไบ ใบเลื่อย ผสมกับคาร์บอน นิกเกิลและโคบอลต์จะมีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ จึงใช้ทำวัตถุสำหรับตัดเหล็กกล้า สารประกอบเรืองแสงของทังสเตนนำมาใช้เป็นสีเขียวและสีเหลืองในการย้อมไหม ตกแต่งแก้วและเครื่องปั้นดินเผา

        แร่วุลแฟรไมต์ (Fe,Mn)WO4
        แร่ซีไลต์ CaWO4

        แร่พลวง(antimony ore)
หนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี,2544) กล่าวว่า แร่พลวงส่วนใหญ่ที่พบเป็นแร่พลวงซัลไฟด์ คือ แร่สติบไนต์ (stibnite สูตรเคมี Sb2S3) หรือที่เรียกว่า “พลวงเงิน” และแร่พลวงไฮดรอกไซด์ คือแร่สติบิโคไนต์ (stibiconite สูตรเคมี Sb2O4H2O) หรือที่เรียกว่า “พลวงทอง”
         แร่พลวงเงิน รูปผลึกระบบออโทรอมบิก (orthorhombic system) มักพบเป็นแท่งเรียวคล้ายเข็ม เกาะรวมกันเป็นกระจุกโดยมีปลายข้างหนึ่งอยู่รวมกัน คล้ายรัศมีดาว หรือเป็นแผ่นแบบใบมีดซ้อนกัน หรืออาจจะอยู่ในลักษณะเกาะกันเป็นก้อนก็ได้ สีภายนอกและสีผงละเอียดเป็นสีเดียวกัน คือ สีเทาตะกั่วถึงสีดำ ทึบแสง วาวแบบโลหะ ความแข็ง 2.0 ส่วนแร่พลวงทองเป็นแร่ที่แปรสภาพมาจากพลวงเงิน มักพบในลักษณะที่แร่ผ่านการผุมาแล้ว มีสีออกไปทางสีอ่อน น้ำตาลอ่อน หรือขาวคล้ำ ลักษณะคล้ายหินผุ แต่ยังคงมีรูปร่างของแร่เดิม
ประโยชน์
       สินแร่พลวงถลุงได้โลหะพลวง ใช้ในการทำโลหะผสม โดยผสมกับโลหะตะกั่วทำแผ่นกริด แบตเตอรี่ ผสมตะกั่วและดีบุกในการทำตะกั่วตัวพิมพ์และโลหะบัดกรีบางชนิด ใช้เป็นส่วนประกอบของกระสุนปืน ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ขีดไฟ ยาง ผ้าทนไฟ และในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ นอกจากนี้ยังใช้ในการหุ้มสายโทรศัพท์ สายไฟขนาดใหญ่ ทำหมึกโรเนียว อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์ หลอดยาสีฟัน สี และ ยารักษาโรค

         แทนทาลัมและไนโอเบียม
แทนทาลัมและไนโอเบียมเกิดอยู่ร่วมกันในสินแร่แทนทาไลต์โคลัมไบต์ (Fe,Mn) (Ta,Nb) O ) ซึ่งพบในตะกรันจากการถลุงแร่ดีบุก ประเทศไทยมีการผลิตผงแทนทาลัมเพนตะออกไซด์ (Ta O ) และไนโอเบียมเพนตะออกไซด์ (Nb O ) จากตะกรันดีบุก โดยนำตะกรันดีบุกมาบดให้ละเอียด แล้วละลายด้วย สารละลายผสมของกรดไฮโดรฟลูออริกกับกรดซัลฟิวริก แล้วเติมเมทิลไอโซบิวทิลคีโตนลงไป สารประกอบของแทนลาลัมและไนโอเบียมจะละลายอยู่ในชั้นของเมทิลไอโซบิวทิลคีโตน จากนั้นแยกชั้นของเมทิลไอโซบิวทิลคีโตนออกมา แล้วเติมกรดซัลฟิวริกเจือจางลงไป ไนโอเบียมจะละลายอยู่ในชั้นของกรด เมื่อแยกชั้นของสารละลายกรดออกและทำสารละลายให้เป็นกลาง ด้วยสารละลายแอมโมเนีย จะได้ตะกอน เมื่อนำไปเผาจะได้ Nb O เกิดขึ้น ส่วนแทนทาลัมที่ละลายอยู่ในชั้นของเมทิลไอโซบิวทิลคีโตน แยกออกได้โดยการผ่านไอน้ำเข้าไป จะได้แทนทาลัมละลายอยู่ในชั้นของน้ำในรูปของสารประกอบ H TaF เมื่อเติมสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์แล้วนำไปตกผลึก จะได้สาร K TaF ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้านำ H TaF มาเติมสารละลายแอมโมเนียจนเกิดตะกอน ซึ่งเมื่อนำตะกอนไปเผาจะได้ Ta O เกิดขึ้น
         Ta O และ Nb O สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้โดยตรง แต่ถ้าต้องการสกัดจนได้โลหะ Ta และ Nb ต้องใช้โลหะแคลเซียมทำปฏิกิริยากับ Ta O หรือ Nb O โดยมี CaCl เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
การสกัดแร่แทนทาไลด์โคลัมไบด์นั้น ก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมจึงต้องกำจัดสารเจือปน และปรับสภาพน้ำทิ้งให้เป็นกลาง นอกจากนี้ตะกรันดีบุก อาจมีสารกัมมันตรังสี เช่นยูเรเนียมและทอเรียมปนอยู่ด้วย จึงต้องตรวจสอบปริมาณสารกัมมันตรังสีไม่ให้มีปริมาณมากเกินค่ามาตรฐาน

            เซอร์โคเนียม
เซอร์โคเนียม (Zr) เป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลว 1852 .C จุดเดือด 4377 .C พบอยู่ในรูปของแร่เซอร์คอน (ZrSiO4) เกิดตามแหล่งแร่ดีบุก

             แร่รัตนชาติ
แร่รัตนชาติเป็น “อโลหะ” ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้มาก โดยเฉพาะเพชรพลอยที่แปรรูปเป็นอัญมณีแล้ว
          เพชรเป็นอัญมณีที่มีความแข็งที่สุด ประกอบด้วยผลึกของธาตุคาร์บอน มีโครงสร้างเป็นร่างตาข่าย ไม่นำไฟฟ้า แต่นำความร้อนได้ดีที่สุด และดีกว่าทองแดง 5 เท่า จึงถูกนำไปใช้ทำส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์เพชรได้ โดยอัดแกรไฟต์ภายใต้ความดัน 50,000-100,000 บรรยากาศ ที่อุณหภูมิ 2000 oC โดยมีโครเมียม เหล็ก หรือแพลทินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพชรที่ได้จะมีความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ ค่าดัชนีหักเหแสง และโครงสร้างผลึกเหมือนกับเพชรธรรมชาติ แต่การผลิตเพชรจะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก
           ส่วน ทับทิม ไพลิน และบุษราคัม มีระดับความแข็ง ความถ่วงจำเพาะ และค่าดัชนีหักเหแสงเท่ากัน จึงจัดเป็นแร่ชนิดเดียวกัน แต่มีสีแตกต่างกันเนื่องจากมีธาตุมลทินในเนื้อพลอยแตกต่างกัน

          อุตสาหกรรมเซรามิกส์
ในสมัยก่อน เซรามิกส์หมายถึงศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากคำว่า “เซรามิกส์” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “เครามอส” ซึ่งหมายถึงวัสดุที่ผ่านการเผา
          ปัจจุบันนี้ เซรามิกส์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย และแร่ธาตุต่างๆ นำมาผสมกัน แล้วทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หลังจากนั้นจึงนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรง สามารถคงรูปอยู่ได้
          อุตสาหกรรมเซรามิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานรองรับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น วัสดุทนไฟเป็นวัสดุพื้นฐานของอุตสหกรรมถลุงและผลิตโลหะ ซีเมนต์เป็นวัสดุสำคัญของงานการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เป็นต้น

กระบวนการผลิตเซรามิกส์มีขั้นตอน ดังนี้
1. การเตรียมวัตถุดิบ
2. การขึ้นรูป
3. การตากแห้ง
4. การเผาดิบ
5. การเคลือบ
6. การเผาเคลือบ
นอกจากนี้ อาจมีการตกแต่งให้สวยงามโดยการเขียนลวดลายด้วยสีหรือการติดรูปลอก สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังเคลือบ

         ปูนซีเมนต์
ปูนซีเมนต์ หมายถึง ผงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบดปูนเม็ด ซึ่งเกิดจากการเผาส่วนผสมต่างๆ ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต ซิลิกา อะลูมินา และออกไซด์จากเหล็ก สัดส่วนของวัตถุดิบแตกต่างกันจะทำให้มีสมบัติแตกต่างกัน
       วัตถุดิบเนื้อปูน ร้อยละ 80 โดยมวล เป็นหินปูน(มีแร่แคลไซด์) ดินสอพอง หรือ ดินมาร์ล หินอ่อน หินชอล์ก
       วัตถุดิบเนื้อดิน มีเนื้อปูนอะลูมินา ซิลิกา หรือออกไซด์ของเหล็กปริมาณสูง ใช้ในกรณีที่ส่วนผสมของเนื้อปูนและเนื้อดินมีองค์ประกอบไม่เป็นไปตามกำหนด เช่น อะลูมินาต่ำต้องเติมแร่บอกไซด์ ถ้ามีเหล็กต่ำก็เติมแร่ที่มีเหล็กออกไซด์หรือเศษเหล็ก
        สารเติมแต่ง เติมภายหลังการเผาเพื่อปรับสมบัติบางประการ เช่น การเติบยิปซัมเพื่อหน่วงเวลาให้ปูนที่ผสมกันน้ำแข็งตัวช้าลง
        กระบวนการที่ใช้ผลิตมีทั้งแบบเผาเปียก และ เผาแห้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้นและชนิดของวัตถุดิบที่ใช้

         อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโซเดียมคลอไรด์
โซเดียมคลอไรด์ใช้ประโยชน์ใน
- อุตสาหกรรมเคมี
- อุตสาหกรรมอาหาร
- การบริโภคในครัวเรือน
วิธีการผลิตโซเดียมคลอไรด์
1. การผลิตเกลือสมุทรจากน้ำทะเล
2. การผลิตเกลือสินเธาว์

        การผลิต NaOH โดยใช้ cell เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน
cell เยื่อแลกเปลี่ยน ion จัดเป็น cell อิเล็กโทรไลต์ ขั้ว Anode ทำด้วยไทเทเนียม ขั้ว Cathode ทำจากเหล็ก โดยมีเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนที่ยอมให้เฉพาะไอออนบวกผ่านได้กั้น เมื่อสารละลาย NaCl ที่บริสุทธิ์และอิ่มตัว เข้าทางด้าน Anode และผ่านกระแสไฟฟ้าลงไป

        การผลิตโซดาแอช
ชื่อทางเคมีโซดาแอช : โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
กระบวนการผลิตโซดาแอช : กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการโซดาแอมโมเนีย
วัตถุดิบ :
1.โซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
2. แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)
3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3)

        การผลิตสารฟอกขาว
สารฟอกขาวเป็นสารประกอบประเภทไฮโปคลอไรต์ ใช้ในอุตสาหกรรมการฟอกย้อมเส้นด้าย เยื่อกระดาษ และใช้เป็นสารฆ่าเชื้อโรคในน้ำ การผลิตสารฟอกขาว

         อุตสาหกรรมปุ๋ย
การนำปุ๋ยมาใช้ในการเกษตรเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ
       ปุ๋ย หมายถึง สารที่ใส่ลงในดินเพื่อให้ปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มี 2 ประเภทคือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยธรรมชาติที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังของซากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และวัสดุเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เมื่อใส่ในดินซากสิ่งมีชีวิตจะค่อยๆสลายตัวและปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืช แต่มีข้อเสียคือ มีธาตุอาหารน้อยรวมทั้งมีปริมาณและสัดส่วนไม่แน่นอน

2. ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการผลิตหรือสังเคราะห์จากแร่ธาตุต่างๆ หรือเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ซึ่งจะมีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม สามารถปลดปล่อยให้แก่พืชได้ง่ายและเร็ว

        ปุ๋ยไนโตรเจน
เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุหลัก ซึ่งช่วยให้พืชเจริญเติบโตดี ลำต้น ใบ แข็งแรง สามารถสร้างโปรตีนได้อย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบ เช่น
ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4 ) 2 SO4 ) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับ H2 SO4
        ปุ๋ยยูเรีย ( NH2CO NH2 ) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 กับแก๊ส CO2
ดังนั้น การผลิตปุ๋ยทั้งสองชนิดใช้แก๊ส NH3 H2SO4 และ แก๊ส CO2 เป็นวัตถุดิบที่สำคัญ
วัตถุดิบที่ใช้เตรียมแก๊สแอมโมเนีย คือ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน
ไนโตรเจน เตรียมได้จากอากาศ โดยนำอากาศมาเพิ่มความดัน ลดอุณหภูมิให้กลายเป็นของเหลว แล้วเพิ่มอุณหภูมิถึงจุดเดือดของแก๊ส เพื่อแยกแก๊สไนโตรเจนออกจากอากาศ
ไฮโดรเจน เตรียมจากแก๊สที่เหลือ(ออกซิเจนส่วนใหญ่) ทำปฏิกิริยากับแก๊สมีเทน หรือ ใช้ไอน้ำทำปฏิกิริยากับแก๊สมีเทน
การเตรียมแก๊สแอมโมเนีย นำแก๊ส N2 และ H2 ที่ผลิตได้มาทำปฏิกิริยากัน ได้แก๊ส NH3
ดังนั้น เมื่อนำแก๊ส NH3 ทำปฏิกิริยากับแก๊ส CO2 จะได้ปุ๋ยยูเรีย

           ปุ๋ยฟอสเฟต
เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปของสารประกอบฟอสเฟต ใช้หินฟอสเฟต(CaF2.3Ca3(PO4)2) เป็นวัตถุดิบการผลิตปุ๋ยฟอสเฟต

           ปุ๋ยโพแทส
ปุ๋ยโพแทสคือปุ๋ยเคมีที่มีธาตุโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ ปุ๋ยชนิดนี้นิยมบอกความเข้มข้น เป็นค่าร้อยละโดยมวลของ K 2O ปุ๋ยโพแทสเซียมชนิดต่างๆนั้นพอจะกล่าวโดยสังเขปได้ดังนี้คือ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl)ปุ๋ยที่บริสุทธิ์ 95% นั้นจะมีโพแทสเซียมที่อยู่ในรูป K2O เท่ากับ 60% ผลิตมาจากสินแร่โพแทสเซียม เช่น sylvinite เป็นต้น และมีชื่อได้อีกว่า muriate of potash
         โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตน้อยลง ขอบใบมีสีซีด ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น